๑ " ชมคนด้วยวาจา...มีค่ายิ่งกว่ามอบไข่มุกให้เป็นของขวัญ ทำร้ายคนด้วยวาจา...
สาหัสยิ่งกว่าทิ่มแทงด้วยหอกดาบ.." "ซุนวู"
๒ " คนอื่นช่วยเรา...เราจะจำไว้ชั่วชีวิต เราช่วยคนอื่น...จงอย่าจำใส่ใจ " "ฮั่วหลัวเกิง"
๓ " มีชีวิตอย่างไร้คุณธรรม มิสู้ตายอย่างมีคุณธรรม ได้มาด้วยความคดโกง มิสู้ยอม
เสียอย่างซื่อตรง..." "หวังติ้งเป่า"
๔ " น้ำใสสะอาดเกินไป...ย่อมไร้ซึ่งมัจฉา คนที่เข้มงวดเกินไป......ย่อมไร้ซึ่งบริวาร "
"ปันกู้"
๕ " ความไม่พอใจ...ความกลัดกลุ้มหงุดหงิด ควรจะเป็นสิ่งที่ทำให้เราฮึดสู้มากยิ่งขึ้น
ไม่ควรเป็นสิ่งที่ทำให้เราท้อแท้ ..ห่อเหี่ยว ยอมจำนน ต่ออุปสรรค์..." "หลี่ต้าเจา"
๖ " ในชีวิตของเรา..มิตรภาพเปรียบเสมือนโคมส่องสว่าง ดวงหนึ่ง....ซึ่งสาดส่อง
จิตวิญญาณของเราให้สว่างไสว ทำให้ชีวิตของเรามี แสงสีอันงดงาม.." "ปาจิน"
๗. " ตัวสกปรกก็คิดจะอาบน้ำ เท้าสกปรกก็คิดจะล้างเท้า แต่ใจสกปรก กลับไม่คิด
ที่จะชำระใจ..." "หยางว่านหลี่"
๘. " สุขสบายเกินไป..เส้นสายก็พลอยหย่อนยาน จิตใจก็พลอยขลาดกลัว" "หูหลินอี้"
๙. " พูดน้อย กลุ้มน้อย ตัณหาน้อย นอนน้อย... ....ถ้าสี่อย่างนี้น้อย ก็ใกล้จะเป็น
เซียนแล้ว" "ซุนซือเหมี่ยว"
๑๐. " คนที่เชื่อมั่นในตนเองมากเกินไป... เป็นคนที่โดดเดี่ยวอ้างว้างที่สุด!" "ลู่ซู"
๑๑. " ไม่มีอะไรแย่เท่ากับความเย่อหยิ่งอวดดี.... ผู้ที่คิดว่าตัวเองไม่ดีพอ คือ คนที่ดีพอ...
ผู้ที่คิดว่าตัวเองดีแล้ว คือ ผู้ที่ดีไม่พอ...!" "ฟังเสี้ยวหยู"
๑๒. " ต้องกล้าที่จะมองความจริง แม้ว่าความจริงอาจจะทำให้เราเจ็บปวดมากๆ" "จางจื้อซิน"
๑๓. " ความอิจฉา เป็นอุปสรรคต่อมิตรภาพ... ความระแวงสงสัย..เป็นศัตรูตัวร้ายกาจ
ของความรัก..ความรักถ้าปราศจากความ ซื่อสัตย์จริงใจต่อกันเสียแล้ว ก็ไม่อาจเชื่อถือ
ซึ่งกันและกันได้" "ซุนยาง"
๑๔ " ยามมีควรคิดถึงความจน... ....ยามจนไม่ควรคิดถึงยามมี..!" "เจิงก่วงเสียนเหวิน"
๑๕ " อย่าทำความชั่ว เพราะคิดว่าผิดนิดเดียว... อย่าละเว้นการทำความดี... เพราะคิด
ว่าได้บุญกุศลแค่นิดเดียว..." "เผยสงจือ"
๑๖ " รู้เหตุผลไม่อับจน รู้กาละไม่ถูกด่า รู้ประหยัดไม่ขัดสน " "ซูลิน"
๑๗ " ใช้จิตใจที่ชอบตำหนิผู้อื่น...มาตำหนิตัวเอง..... ใช้จิตใจที่ชอบให้อภัยตัวเอง...
ให้อภัยผู้อื่น.." "เจิงจิ้นเสียนเหวิน"
๑๘ " ขี้เกียจแล้วยังฟุ่มเฟือย...ย่อมยากจน ขยันและประหยัด..ย่อมร่ำรวย.." "ก่วนจ้ง"
๑๙ "…สูงส่งแต่ไม่เย่อหยิ่ง ชนะแต่ไม่ลำพอง ปราดเปรื่องแต่รู้จักลงเวที เข้มแข็ง
แต่มีความอดกลั้น.." "ขงเบ้ง"
๒๐ "..ก่อนที่จะเอาชนะคนอื่น...จักต้องเอาชนะตัวเอง ให้ได้เสียก่อน ก่อนที่จะว่าคนอื่น...
ควรพิจารณาดูตัวเองเสียก่อน ก่อนหน้าที่จะ รู้จักคนอื่น...ควรจะรู้จักตัวเองเสียก่อน.."
"หลี่ปุ๊เหว่ย"
๒๑ " ผู้ที่รู้จักคนอื่นเป็นคนฉลาด.ผู้ที่รู้จักตัวเอง เป็นคนมีสติ.." "เล่าจื้อ"
๒๒ " การตกระกำลำบากเป็นมหาวิทยาลัยชั้นสูงในการฝึกฝนยอดคน..!!" "เหลียงฉี่เชา"
๒๓ " สิ่งที่ตัวเราไม่ชอบ ...จงอย่าทำกับคนอื่น.." "ขงจื้อ"
๒๔. " คนที่ทำได้อาจพูดไม่ได้...คนที่พูดได้อาจทำไม่ได้.!!" "ซือหม่าเชียน"
๒๕. " คนเราหนีไม่พ้นความตาย...แต่ความหมายการตายนั้น ไม่เหมือนกัน...
บ้างมีค่าหนักกว่าขุนเขา...บ้างไร้ค่าเบากว่าขนนก...!" "ซือหม่าเชียน"
ตำรับยาจีน ที่ปรุงพร้อมดื่ม โดยไม่ต้องชิม ที่เชื่อว่าเป็นยาอายุวัฒน
สร้างคนให้มีคุณค่าในตัวเอง นำมาแจกจ่ายเผื่อได้นึกถึงเพื่อนที่ห่างไกล
บทความที่ได้รับความนิยม
-
1. ข้อบังคับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรคืออะไร ข้อบังคับ หมายถึง ข้อบังคับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรซึ่งเกิดจากความเห็นชอบของผู้ซื้อที่ดิ...
-
นับตั้งแต่พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มีผลใช้บังคับ ปัญหาที่พบบ่อย คือการละเลยต่อการบริหารจัดการสาธารณูปโภคภายในโครงการบ้า...
-
๑ " ชมคนด้วยวาจา...มีค่ายิ่งกว่ามอบไข่มุกให้เป็นของขวัญ ทำร้ายคนด้วยวาจา... สาหัสยิ่งกว่าทิ่มแทงด้วยหอกดาบ.." "ซุนวู...
วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554
วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554
ชำระค่าส่วนกลางเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
นับตั้งแต่พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มีผลใช้บังคับ ปัญหาที่พบบ่อย คือการละเลยต่อการบริหารจัดการสาธารณูปโภคภายในโครงการบ้านจัดสรร ผู้ซื้อบ้านจัดสรรไม่ได้รับการดูแล หรือได้รับบริการจากสาธารณูปโภคตามที่ได้ทำการโฆษณาไว้ เช่น เงื่อนไขเกี่ยวกับขนาดที่ดินแปลงย่อย ระบบและมาตรฐานของถนน ทางเดินเท้า ระบบระบายน้ำ ไฟฟ้า ประปา และบริการสาธารณะที่จำเป็น
ทั้งนี้ กฎหมายยังได้เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการจัดการบริหารและดูแลรักษาสาธารณูปโภคภายในโครงการ หรือยกให้กับหน่วยงานท้องถิ่นของรัฐรับหน้าที่ทำแทน แต่สภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นก่อนกฎหมายบังคับใช้ ผู้ประกอบการยังคงใช้สิทธิในสาธารณูปโภคแต่ผลักภาระค่าบริหารจัดการเป็นของคณะกรรมการหมู่บ้าน และเมื่อไม่มีเงินทุนเพียงพอก็จะมีผลให้สภาพแวดล้อมของหมู่บ้านเสื่อมโทรมลงและไม่น่าอยู่อาศัย
ทางออกคือ การจัดให้มีนิติบุคคลบ้านจัดสรรขึ้นมา โดยมีอำนาจดำเนินการกำหนดระเบียบเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์สาธารณูปโภค การอยู่อาศัย และการจราจรในหมู่บ้าน การเก็บเงินค่าใช้จ่ายเพื่อการบำรุงรักษา การจัดการสาธารณูปโภคในส่วนที่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีหน้าที่บำรุงรักษาจากสมาชิก รวมถึงการดำเนินการอื่นตามที่กำหนดใน มาตรา 48 ของ พรบ.จัดสรร และมีลักษณะคล้ายกับนิติบุคคลอาคารชุดของกฎหมายอาคารชุด
ผู้ซื้อบ้านจัดสรรทุกแปลง จึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดสาธารณูปโภค โดยชำระเป็นรายเดือน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บตามที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด (แต่ยังคงเป็นปัญหาในหลายโครงการ โดยผู้อยู่อาศัย หรือเจ้าของที่ดินจัดสรรไม่ยินยอมจ่ายค่าใช้จ่ายในส่วนนี้)
สำหรับข้อดีของการมีส่วนร่วมในการบริหารดูแลจัดการ คือทำให้ คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร สามารถบริหารงาน โดยมีกฎหมายรองรับการทำงาน ภายใต้พื้นฐานที่ว่าทุกคนมีสิทธิเป็นเจ้าของร่วม
ผลที่ได้รับจากการบริหารจัดการและดูแลสาธารณูปโภคที่ดี คือ การมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสังคมดี สภาพแวดล้อมดี และเพื่อนบ้านที่ดี และยังอาจเป็นการเพิ่มมูลค่าของทรัพย์สินให้มีสภาพที่ดีได้เป็นเวลานาน แต่สมาชิกในหมู่บ้านจะต้องร่วมผิดชอบบรรดาค่าใช้จ่ายเฉลี่ยร่วมกัน ขณะเดียวกันก็เป็นการรักษาสิทธิของสมาชิก โดยการตรวจสอบการบริหารงานของนิติบุคคลบ้านจัดสรรอย่างต่อเนื่อง (รวมถึงการตรวจสอบและจัดเก็บใบเสร็จรับเงิน เพื่อให้เกิดความถูกต้องและเป็นธรรมกับผู้ที่อยู่อาศัยในโครงการจัดสรร)
ดังนั้น ผู้ซื้อบ้านจัดสรรจึงต้องให้ความร่วมมือโดยการชำระค่าส่วนกลาง เพื่อสาหรับเงินเงินทุนในการบริหารจัดการสาธารณูปโภคต่าง ๆ ภายในหมู่บ้านจัดสรรนะครับ.
ทั้งนี้ กฎหมายยังได้เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการจัดการบริหารและดูแลรักษาสาธารณูปโภคภายในโครงการ หรือยกให้กับหน่วยงานท้องถิ่นของรัฐรับหน้าที่ทำแทน แต่สภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นก่อนกฎหมายบังคับใช้ ผู้ประกอบการยังคงใช้สิทธิในสาธารณูปโภคแต่ผลักภาระค่าบริหารจัดการเป็นของคณะกรรมการหมู่บ้าน และเมื่อไม่มีเงินทุนเพียงพอก็จะมีผลให้สภาพแวดล้อมของหมู่บ้านเสื่อมโทรมลงและไม่น่าอยู่อาศัย
ทางออกคือ การจัดให้มีนิติบุคคลบ้านจัดสรรขึ้นมา โดยมีอำนาจดำเนินการกำหนดระเบียบเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์สาธารณูปโภค การอยู่อาศัย และการจราจรในหมู่บ้าน การเก็บเงินค่าใช้จ่ายเพื่อการบำรุงรักษา การจัดการสาธารณูปโภคในส่วนที่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีหน้าที่บำรุงรักษาจากสมาชิก รวมถึงการดำเนินการอื่นตามที่กำหนดใน มาตรา 48 ของ พรบ.จัดสรร และมีลักษณะคล้ายกับนิติบุคคลอาคารชุดของกฎหมายอาคารชุด
ผู้ซื้อบ้านจัดสรรทุกแปลง จึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดสาธารณูปโภค โดยชำระเป็นรายเดือน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บตามที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด (แต่ยังคงเป็นปัญหาในหลายโครงการ โดยผู้อยู่อาศัย หรือเจ้าของที่ดินจัดสรรไม่ยินยอมจ่ายค่าใช้จ่ายในส่วนนี้)
สำหรับข้อดีของการมีส่วนร่วมในการบริหารดูแลจัดการ คือทำให้ คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร สามารถบริหารงาน โดยมีกฎหมายรองรับการทำงาน ภายใต้พื้นฐานที่ว่าทุกคนมีสิทธิเป็นเจ้าของร่วม
ผลที่ได้รับจากการบริหารจัดการและดูแลสาธารณูปโภคที่ดี คือ การมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสังคมดี สภาพแวดล้อมดี และเพื่อนบ้านที่ดี และยังอาจเป็นการเพิ่มมูลค่าของทรัพย์สินให้มีสภาพที่ดีได้เป็นเวลานาน แต่สมาชิกในหมู่บ้านจะต้องร่วมผิดชอบบรรดาค่าใช้จ่ายเฉลี่ยร่วมกัน ขณะเดียวกันก็เป็นการรักษาสิทธิของสมาชิก โดยการตรวจสอบการบริหารงานของนิติบุคคลบ้านจัดสรรอย่างต่อเนื่อง (รวมถึงการตรวจสอบและจัดเก็บใบเสร็จรับเงิน เพื่อให้เกิดความถูกต้องและเป็นธรรมกับผู้ที่อยู่อาศัยในโครงการจัดสรร)
ดังนั้น ผู้ซื้อบ้านจัดสรรจึงต้องให้ความร่วมมือโดยการชำระค่าส่วนกลาง เพื่อสาหรับเงินเงินทุนในการบริหารจัดการสาธารณูปโภคต่าง ๆ ภายในหมู่บ้านจัดสรรนะครับ.
ดินสอพอง
ที่มา http://dailynews.co.th
ข้อบังคับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร-การเก็บค่าใช้จ่าย-การกำหนดค่าปรับ-การระงับนิติกรรม
1. ข้อบังคับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรคืออะไร
ข้อบังคับ หมายถึง ข้อบังคับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรซึ่งเกิดจากความเห็นชอบของผู้ซื้อที่ดิน จัดสรรจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนแปลงย่ายตามแผนผัง โครงการที่ได้รับอนุญาตในคราวประชุมของผู้ซื้อที่ดินจัดสรรเพื่อมีมติจัด ตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร โดยสามารถดูตัวอย่างข้อบังคับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้ที่เว็บไซต์กรม ที่ดิน www.dol.go.th และข้อบังคับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรนี้จะไม่ระบุในทะเบียนนิติบุคคลหมู่ บ้านจัดสรร แต่จะเก็บไว้ในเรื่องราวการขอจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร2. นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีอำนาจเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและจัดการสาธารณูปโภค ในส่วนที่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีหน้าที่บำรุงรักษาจากสมาชิก
โดยเมื่อจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้ว คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรจะกำหนดค่าใช้จ่ายและเสนอให้ที่ประชุมใหญ่ของ สมาชิกมีมติเห็นชอบ ดังนั้น อัตราค่าใช้จ่ายดังกล่าวจึงไม่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนต่อกรมที่ดินเนื่องจากถือว่าเป็นอัตราค่าใช้จ่ายที่ยอมรับจากมติที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้วส่วนค่าใช้จ่ายในอัตราที่แตกต่างกันตามประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน หรือขนาดพื้นที่ตามระเบียบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนดนั้น คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางได้กำหนดหลักเกณฑ์ให้นิตบุคคลหมู่บ้านจัดสรรอาจ กำหนดค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บในอัตราตามประเภทการใช้ประโยชน์ หรือขนาดของพื้นที่ แต่จะจัดเก็บค่าใช้จ่ายในอัตราเท่าใดต่อเดือน ก็ต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ดังกล่าวข้างต้น3. สำหรับมาตรการที่ให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรกำหนดค่าปรับ
กรณีที่ผู้มีหน้าที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคชำระเงินดังกล่าวล่าช้า จะต้องจ่ายค่าปรับตามอัตราที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานครกำหนดนั้น คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานคร ได้กำหนดไว้ ดังนี้(1) ที่ดินที่ใช้เพื่อประกอบการอุตสาหกรรมและที่ดินที่ใช้เพื่อประกอบการพาณิชยกรรม ต้องชำระค่าปรับในอัตราที่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรกำหนด แต่ต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าของจำนวนเงินที่ค้างชำระ
(2) ที่ดินที่ใช้เพื่อเกษตรกรรม ที่ดินที่ใช้เพื่อที่อยู่อาศัย และที่ดินเปล่า ต้องชำระค่าปรับในอัตราที่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรกำหนด แต่ต้องไม่เกินร้อยละสิบของจำนวนเงินที่ค้างชำระ
4. การเรียกเก็บค่าใช้บริการและค่าบำรุงรักษาบริการสาธารณะตามอัตราที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบ ตามมาตรา 53
คือ ให้ผู้จัดสรรที่ดินกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายดังกล่าวไว้ในโครงการและวิธีการจัดสรรที่ดิน ในครั้งยื่นคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน เมื่อผู้จัดสรรที่ดินได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินแล้ว ผู้จัดสรรที่ดินก็สามารถเรียกเก็บเงินค่าใช้บริการและค่าบำรุงรักษาบริการสาธารณะได้ตามอัตราที่ได้รับอนุญาตนั้น แต่ถ้าผู้จัดสรรที่ดินไม่ได้กำหนดไว้ในโครงการ และวิธีการจัดสรรที่ดินในครั้งยื่นคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน ก็สามารถยื่นขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการได้ในภายหลัง5. การแจ้งระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานคร กำหนดให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้ค้างชำระทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสิบห้าวัน เมื่อครบกำหนดแล้วให้แจ้งเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร หรือสาขา ซึ่งที่ดินตั้งอยู่พร้อมหลักฐานการแจ้งเจ้าของที่ดิน ดังนั้น เจ้าพนักงานที่ดินจึงไม่ต้องตรวจดูข้อบังคับในเรื่องอัตราการจัดเก็บ และไม่ต้องขอรายงานการประชุมข้อมูลโดย : สำนักส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
สำนักงานเลขานุการกรม โทร.0-2221-5682, 0-2226-3073
สำนักงานเลขานุการกรม โทร.0-2221-5682, 0-2226-3073
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)